วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

ยาหอมทิพโอสถ



ยาหอมทิพโอสถ
                ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับความหมายของยาหอมกันก่อน ยาหอมคือยาผงที่นำมาละลายน้ำรับประทานเพื่อแก้อาการเป็นลม ในยาหอมจะมีส่วนผสมของ สมุนไพร และ เกสรดอกไม้ต่างๆ เพื่อให้ความหอมเย็น สดชื่น
                เรามาเข้าเรื่องยาหอมทิพโอสถที่ผมจะมาแนะนำในวันนี้กันต่อนะครับ ก่อนอื่นขอพูดถึงส่วนประกอบของยาหอมนี้ก่อนนะครับ ส่วนประกอบประกอบด้วย ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกจำปา ดอกบัวจงกลนี หัวแห้วไทย กระจับ ฝาง จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทร์เทศ กฤษณาชะลูด อบเชย สมุลแว้ง สนเทศ ว่านน้ำ กระชาย เปราะหอม ดอกคำไทย ชะเอมเทศ สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หนักสิ่งละ 4 ส่วน โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ 2 ส่วน เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนสัตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ การบูร หนักสิ่งละ 1 ส่วน ชะมดเช็ด พิมเสน หนักสิ่งละ 2 ส่วน
วิธีทำ ชนิดผงใส่ส่วนประกอบทั้งหมดตามอัตราส่วนแล้วบดเป็นผง ส่วนชนิดเม็ดบดส่วนประกอบทั้งหมดตามอัตราส่วนให้เป็นผงแล้วทำเป็นเม็ด น้ำหนักหนักเม็ดละประมาณ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ละลายน้ำดอกไม้สุก
ขนาดรับประทาน ชนิดผงครั้งละ ½ -1 ช้อนชา ชนิดเม็ด ครั้งละ 5- 7 เม็ด
                การทำยาหอมทิพโอสถนอกจากสมุนไพรแล้ว ยังมีไขชะมดเช็ด ซึ่งเป็นไขที่ได้จากชะมดนะครับ สัปดาห์ก่อนๆ เราให้ความรู้เกี่ยวกับเภสัชวัตถุจากพืชสมุนไพรกันมามากแล้ววันนี้ผมจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเภสัชวัตถุที่มาจากสัตว์กันบ้างนะครับเรามาดูกันว่าสัตว์ชนิดนี้พิเศษอย่างไรนะครับ
ชะมดเช็ด( Small Indian Civet ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverricula malaccensis ลักษณะทั่วไป ชะมดเช็ดมีขนาดเล็กกว่าชะมด หรืออีเห็นชนิดอื่น ขนสีน้ำตาลจาง มีลายสีดำอยู่บนหลัง 5 ลาย ลายยาวจากคอถึงโคนหาง ข้างตัวมีลายเป็นจุดสีดำเรียงเป็นแนววิ่งไปตามความยาวของลำตัว หางเป็นปล้องสีขาวสลับดำ 6 - 9 ปล้อง ส่วนปลายหางเป็นสีขาวเสมอ ไม่มีขนแผงหรือขนตั้งชันที่คอหรือหลังเหมือนอย่างชะมดแผง หน้าผากแคบเหมือนหน้าหนู ขาค่อนข้างสั้น
ชะมดเช็ดมีต่อมใกล้ทวารหนัก ซึ่งขับของเหลวมีกลิ่นฉุน โดยธรรมชาติสัตว์จะเช็ดของเหลวนี้กับตอไม้หรือกิ่งไม้ จึงเรียกชื่อสัตว์ชนิดนี้ว่า ชะมดเช็ดของเหลวดังกล่าวนี้ใช้ทำยาและน้ำหอมได้ ต่อมกลิ่นที่ก้นชะมดเช็ดมีอยู่ทั้งในตัวผู้และ ตัวเมีย แต่ของตัวเมียเล็กกว่า บางครั้งเรียกว่า Musk Civet
การเช็ดไขของเหลวเริ่มเมื่อมีอายุประมาณ 1 ปีจะมีไขของเหลวออกมาแต่สัตว์จะมีพฤติกรรมการเช็ดตั้งแต่หย่านมแล้ว โดยก่อนที่จะเช็ดจะเดินวนรอบแล้วจะดมดูจุดที่จะเช็ด ก่อนเช็ดจะยกหางขึ้นก่อนแล้วถอยเข้าหาที่เช็ด  ในสมุนไพรชะมดเช็ด จะมีสารประกอบที่เรียกว่า civetone ซึ่งเป็นสารคีโทน จะมีคุณสมบัติช่วยในการทำให้กลิ่นหอมคงอยู่นานหรือที่เรียกว่าสารตรึงกลิ่น (fixative)         ซี่งป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงยาแผนโบราณของไทย เช่น ยาหอมเทพจิตร  ยาหอมทิพโอสถ และยาหอมอินทจักร์    อันเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ นอกจากนี้ตามข้อมูลของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อ.ย.) พบว่ามีการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณที่ใช้สมุนไพรชะมดเช็ดเป็น เครื่องยาถึง 115 ตำรับ ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดการผลิตยาแผนโบราณและธุรกิจน้ำมันระเหยง่ายสำ หรับสปาและสุคนธบำบัด(Aromatherapy) ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกอีกด้วย ได้แก่ ประเทศจีน ,ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้นกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศทางยุโรป
จากประโยชน์ดังที่กล่าวข้างต้นทำให้ชะมดเช็ดกลาย เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก  ในสัตว์เศรษฐกิจทุกชนิดล้วนต้องการการจัดการที่เหมาะสมซึ่งจำเป็นต้องมี ข้อมูลที่มาจากการศึกษาวิจัย ด้วยเหตุนี้จึงกระตุ้นให้เกิดงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางชีววิทยา   เภสัชวิทยา หรือการศึกษาเกี่ยวกับจัดการทางด้านการผลิตเช่น การจัดการโรงเรือน การจัดการด้านโภชนาการ การจัดการด้านการเพาะขยายพันธุ์ การเก็บน้ำมันชะมด และการจัดการทางการตลาด  เชื่อว่าผลจากการศึกษาวิจัยเหล่านี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชะมดเช็ดและนำไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรได้ในอนาคต  หรืออาจนำไปสู่การเพาะขยายพันธุ์และการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อีกด้วย
               
อ้างอิง
http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=50&Itemid=60
http://www.thaicookingclub.com/thaimedicine_athome.htm
http://www.gotoknow.org/blog/thai-traditional-medicine/342029
http://plugmet.orgfree.com/herb_4.htm
http://www.thaipromote.com/view1767835.html
http://www.barnbun.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89%3A2011-02-03-15-19-40&catid=30%3Aproduct-herb&Itemid=322
http://mhoya.9nha.com/samonpraithai/yasaman2.html
http://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article20.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น