วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สารสกัดจากเส้นใยไหมเพื่อความงาม



สารสกัดจากเส้นใยไหมเพื่อความงาม
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าหนอนไหมกันก่อนนะครับ หนอนไหม เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิด Bombyx mori อยู่ในวงศ์ Bombycidae มันสามารถให้เส้นใยเป็นเส้นไหม ผีเสื้อไหมไม่ปรากฏในป่าตามธรรมชาติ การสืบพันธุ์และดำรงชีวิตขึ้นอยู่กับการดูแลของมนุษย์เท่านั้น เดิมเป็นสัตว์พื้นเมืองของจีน
ไหม คือ เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัย เพื่อมาห่อหุ้มตัว ป้องกันศัตรูทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้ และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่งซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม (ขนาดเท่าเมล็ดงา) และเป็นตัวหนอนไหม ในขณะที่เป็นตัวหนอนไหมจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 20-22 วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า โดยการกินอาหารเพียงอย่างเดียว คือใบหม่อน และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร แล้วพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ที่เราเรียกว่ารังไหม ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว หนอนไหมนั้นสามารถสร้างโปรตีนที่มีประโยชน์ 2 ชนิดคือ ไฟโบรอิน (Fibroin) ซึ่งเป็นใยไหมที่ใช้ทอผ้า และเซริซิน (Sericin) ที่เป็นกาวเคลือบอยู่บนเส้นใยไหม และหากเรานำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 80◦C ขึ้นไปจะสามารถทำให้กาวไหม (sericin) อ่อนตัวและดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้ ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วงที่เป็นหนอนไหม
ซึ่งสาร sericin นี้เองครับที่มีประโยชน์ในด้านการบำรุงผิวและผม สาร sericinมีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า กาวไหม ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนจำพวกกรดอะมิโน  ที่มีความบริสุทธิ์สูง 10 กว่าชนิด สาร sericin เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สร้างจากตัวไหม ซึ่งมีลักษณะเป็นกาวอยู่ที่รังเพื่อป้องกันศัตรูตามธรรมชาติ จากการวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า สาร sericin นี้ประกอบด้วย  เซรีนประมาณ 30 %  ซึ่งเซรีน เป็นกรดอะมิโนที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดในผิวหนังของมนุษย์ โปรตีนนี้จึงมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อมนุษย์ เพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้สกัดโปรตีนจากรังไหมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เวชภัณฑ์  ยา เครื่องสำอางและอื่นๆมากมาย  น้องจิมมี่ เด็กหนุ่มวัย 15 ปีชาวไทยของเราได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการสกัดสาร sericin จากรังไหมจนได้ไปโชว์ผลงานวิจัยระดับประเทศที่มีแต่ผลงานวิจัยของคนระดับด๊อกเตอร์ไปร่วมงาน แล้วยังเป็นนักวิจัยที่อายุน้อยที่สุดในงานด้วยครับ เป็นความภูมิใจของเด็กไทยของเรานะครับ 


ตอนนี้มาเข้าประเด็นหลักของเรานะครับ เรามาดูกันดีกว่านะครับว่า สาร sericin มีประโยชน์อะไรบ้าง
1.ผิวหน้าขาวขึ้น เนื่องจาก sericin ไปลดการทำงานของเอ็นไซม์ (เทโลซิเอส)   ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่สร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนัง  เมื่อเม็ดสีน้อยลงจะทำให้ผิวดูขาวขึ้น จุดด่างดำดูจางลงได้นะครับ
2.ต่อต้านการทำปฎิกริยากับ ออกซิเจน ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของผิวหนัง เช่น  รอยด่างดำ  ริ้วรอย  ป้องกันไม่ให้ผิวมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอม    ดังนั้นจึงไม่ค่อยเกิดรอยด่างดำ
3.ช่วยดูดกลืนรังสีอุลต้าไวโอเลต
4.ช่วยกระตุ้นการปลูกผม  
5.มีคุณสมบัติการอุ้มน้ำ กรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบ  70 ของ sericin  มีคุณสมบัติที่สามารถดูดน้ำและพองตัว  และละลายในน้ำร้อนได้  กล่าวคือ  สารนี้ละลายน้ำได้ดี  จึงยึดติดกับผิวหนังได้ดี  สามารถซึบซาบเข้าไปในผิวหนัง  ช่วยรักษาความชุ่มชื้น  เซริซินสามารถยึดติดได้คงทนกว่า คอลลาเจน  สามารถรักษาความชุ่มชื้นได้เป็นเวลานานกว่า   เมื่อทดลองใช้จะพบว่า  sericin จะให้ความรู้สึกแห้งสบายกว่า 
                ครบสูตรความสวยขาวใสๆจริงๆนะครับสำหรับสารสกัดจากไหม ทั้งทำให้ขาวขึ้น ป้องกันแสงแดด ทำให้ผิวชุ่มชื้น จากสุดยอดประโยชน์ด้านความผิวใสนี้ทำให้ครีมสารสกัดจากไหมกำลังเป็นที่จับตามองแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทยครับ หากท่านผู้ฟังท่านใดสนใจก็ลองหาข้อมูลและศึกษาผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนใช้นะครับ และที่สำคัญที่สุดอย่าลืมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบห้าหมู่ นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่เครียด แค่นี้ผมคิดว่าท่านก็คงจะหล่อ สวย ทั้งภายนอกและภายในกันเลยทีเดียวครับ

อ้างอิง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=201577
http://www.vcharkarn.com/varticle/34146
http://www.spa-karuizawa.jp/thailand/product_herb_water_spray.html
http://tvdirect.tarad.com/product.detail_695580_th_3599054
http://www.chemtrack.org/HazMap-Agent-Info.asp?ID=1298
http://gotoknow.org/blog/seri/112171
http://www.itqthaisilk.com/qthaisilk/inside.php?com_option=page&aid=69
https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=36755
http://www.itqthaisilk.com/qthaisilk/inside.php?com_option=page&aid=8
http://en.wikipedia.org/wiki/Bombyx_mori
http://i45.photobucket.com/albums/f98/feonalita/Feo%20Blog/Cocoon/stock-footage-butterflies-and-cocoons-of-silk-moth_zps41053dde.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น