วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ยาหอมอินทจักร์



ยาหอมอินทจักร์

สำหรับวันนี้ก็ยังเป็นยาหอมอยู่นะครับ ชื่อว่า ยาหอมอินทจักร์ ฟังดูชื่อแล้วบางท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยิน เรามาทำความรู้จักกับยาสมุนไพรตัวนี้กันดีกว่านะครับ
                ส่วนประกอบของยาหอมนี้ประกอบด้วย  สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี รากเจตมูลเพลิงแดง ลูกผักชีลา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลำพา โกฐเชียง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี จันทน์แดง จันทร์เทศ เถามวกแดง เถามวกขาว รากหญ้านาง เปลือกชะลูด อบเชย เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลำพัก บอระเพ็ด ลูกกระดอม กำยาน
ขอนดอก ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน การพลู รากไคร้เครือ ลำพันแดง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกคำไทย ฝางเสน ดีวัว พิมเสน สิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ ชนิดผง ก็นำสมุนไพรตามอัตราส่วนมาบดเป็นผง แล้วชงดื่มได้เลย  ถ้าเป็นชนิดเม็ดก็นำสมุนไพรตามอัตราส่วนมาบด แล้วทำเป็นเม็ด ให้แต่ละเม็ดหนักประมาณ 0.2 กรัม
สรรพคุณ แก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก แก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม
ขนาดรับประทาน รับประทาน ทุก 3 ชั่วโมง
ชนิดผง ครั้งละ ½- 1 ช้อนชา ชนิดเม็ด ครั้งละ 5-10 เม็ด
ยาหอมอินทจักร์มีสมุนไพรที่สำคัญเป็นส่วนประกอบหลายชนิด แต่ในวันนี้กระผมจะมาแนะนำ สมุนไพรตัวหนึ่งที่เราเคยกิน เคยใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ สมุนไพรชนิดนี้คือ ขิงนั้นเองครับ
ขิง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ginger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingibar officinale จัดอยู่ในวงศ์
Zingiberaceae ขิง มีชื่อพื้นบ้านว่า ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ และขิง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าซึ่งมีกลิ่น มีรสเผ็ดร้อน ลักษณะของลำต้นคล้ายกับต้นข่า คือ มีใบและก้านใบโผล่พ้นพื้นดิน และมีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน เนื่องจากทั้งขิงและข่าต่างก็มีรสเผ็ดร้อนทั้งคู่ จึงมักจะถูกนำไปเปรียบเปรยกับคู่สามีภรรยา หรือคู่รักที่ต่างก็ไม่ยอมลงให้กันว่า ขิงก็ราข่าก็แรงครับ
ขิง มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส ไนอาซีน วิตามินซี เส้นใย ในเหง้าแก่มีสาร โอลีโอเรซิน และมีน้ำมันหอมระเหย (1-3%) เช่น ซินจิเบอรีน (zingiberine) ซินจิเบอรอล (zingiberol) แคมฟิน (camphene) คิวมีน (cumene) เบต้าเซสควิเฟลแลนดรีน (beta-sesquiphellandrrne) เบต้าบิสอะโบลีน (beta-bisabolene) โชโกล (shogaols) และสารเบต้าแคโรทีน (beta- carotene)
สรรพคุณของขิงและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของขิง คือ ใบ ดอก เหง้าแก่และเหง้าอ่อนของขิงทั้งในรูปของเหง้าสดและแห้ง เนื่องจากขิงมีรสเผ็ดร้อน จึงสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังและหนังศรีษะ ทำให้รากผมแข็งแรงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของรังแค ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอาการแพ้วิงเวียน (เนื่องจากเมารถเมาเรือ) ขับน้ำดี แก้อักเสบบำรุงหัวใจ นอกจากนี้ขิงยังมีสารฟีนอลิก (phenolic compound) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืน(พวกน้ำมัน ไขมัน) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด ช่วยขับลม บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน การใช้ขิงเพื่อรักษาอาการดังกล่าวมีคำแนะนำให้ใช้เหง้าขิงสดๆ ทุบพอแตกต้มกับน้ำสะอาด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่ม และหากจะใช้เพื่อระงับอาการไอ ขับเสมหะ ให้ใช้เหง้าขิงสดฝานเป็นแว่น ๆ ตำละเอียดแล้วผสมน้ำมะนาว และเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือจิบกินบ่อยๆจะช่วยระงับอาการไอและขับเสมหะได้ดีค่ะ นอกจากนี้ในขิงจะมีเอนไซม์ย่อยเนื้อได้ไม่น้อยกว่า 2 ชนิด เหมือนเอนไซม์โปรทีเอส (protease) ซึ่งมีคำแนะนำให้ใช้ขิงแห้ง 2-4 กรัม หรือ ครึ่งถึง 1 ช้อนชา แบ่งเป็น 3 ส่วนชงน้ำร้อนดื่ม 3 เวลาทุกวัน จะช่วยในการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ใช้ขับเหงื่อและขับลมในท้อง แก้จุกเสียดแน่นท้อง มีคำแนะนำให้ใช้ เหง้าขิงสดหรือแห้งก็ได้ ถ้าเหง้าสดให้ใช้ประมาณ 2 นิ้ว แต่ถ้าเป็นขิงแห้งใช้ประมาณ 2 แก้ว เติมน้ำตาลลงไปให้พอดีหวาน ใช้ดื่มหลังอาหารและก่อนนอนทุกวันนะคะ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากช่วยป้องกันความจำเสื่อม แก้ปวดศรีษะแบบไมเกรน และปวดข้อ บรรเทาอาการไขข้อรูมาตอยด์ ต้านการแข็งตัวของเลือด มีสารต้านแบคทีเรียจึงช่วยแก้อาการท้องร่วง และยังมีสารต้านมะเร็งที่มีสรรพคุณสูงด้วย และจากรายงานผลการทดลองในสัตว์ พบว่าสามารถลดความดันได้ แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าในหญิงมีครรภ์ที่มีประวัติการแท้งง่าย ไม่ควรให้บริโภค และในน้ำขิงที่เข้มข้นเกินไป จะมีผลลดการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยได้นะคะ นอกจากนั้นในคนที่มีปัญหาของถุงน้ำดี จึงไม่ควรใช้น้ำขิงที่เข้มข้นนะคะ ประโยชน์ของขิงนอกจากเหง้าแล้ว ยังมีรายงานว่า ในใบขิงก็สามารถใช้แก้อาการฟกช้ำ ช่วยย่อยอาหาร ขับลม และขับลมในลำไส้ ส่วนดอกขิง ใช้ในการช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ และบำรุงธาตุไฟ  ขิงนั้นนอกจากจะเป็นส่วนผสมในยาหอมอินทจักร์แล้ว น้ำขิงยังสามารถนำมาละลายผงยาหอมป็นกระสายยาได้อีกด้วยนะครับ
               

อ้างอิง
http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64&Itemid=60
http://plugmet.orgfree.com/herb_4.htm
http://www.thaihof.org/
http://www.samunpri.com/modules.php?name=General3
http://www.kongkaherb.co.th/mainweb/index.php?option=com_content&view=article&id=261:2009-10-09-13-47-54&catid=46&Itemid=103&lang=en
http://thaipharmacies.org/knowledge/thai-medicine/100-2010-07-22-04-39-08.html
http://www.samunpri.com/modules.php?file=yasamon1&name=Herbs
http://www.samunpri.com/modules.php?file=samon5&name=Herbs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น