วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตะไคร้หอมในเครื่องสำอาง



ตะไคร้หอมในเครื่องสำอาง
ตะไคร้หอม มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า ไคร้ หัวไคร้ ขิงไค มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เลมมอนกลาส (Lemon Grass) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon nardus ในวงศ์กรามินีอี้ (Gramineae) ตะไคร้ประเภทนี้ไม่นิยมใช้ใส่ในอาหาร แต่จะใช้สกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากใบและเหง้า มาใช้ไล่แมลง ทำเครื่องหอม ผสมสบู่ เครื่องสำอาง แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่มนะครับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก  อายุหลายปี  ลำต้นเป็นกอ  สูงประมาณ 2 เมตร  แตกกอหนาแน่น  โคนต้นมีนวลใต้ข้อ มีกลิ่นหอม  ใบเดี่ยว รูปเรียวยาว  ขนาดกว้าง 1.5-3 เซนติเมตร  ยาว 50-110 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลมยาว โคนใบสอบยาว ผิวใบหยาบ ไม่มีขน   สีเขียวนวล   ปลายใบโน้มลง  กาบใบเรียงซ้อนกันแน่น  รูปคล้ายทรงกระบอก  หุ้มลำต้น ลิ้นใบปลายกลมหรือตัด โคนมีผงสีขาวคล้ายแป้งที่ข้อและกาบใบ  ช่อดอก ขนาดใหญ่  เรียงกันไม่หนาแน่น แบบประกอบซ้อน ยาว 60 เซนติเมตร มี 4-9 ข้อ  แตกแขนงช่อย่อย แกนกลางช่อดอกมีขนยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมี 4-7 คู่ ช่อดอกย่อยแบบกระจะ เกสรเพศผู้ มี 3 อัน เกสรเพศเมีย ก้านเกสร มี 2 อัน ยอดเกสรเป็นพู่ มีขนยาวนุ่ม ผลแบบผลแห้งเมล็ดติด รูปทรงกระบอกหรือกึ่งกลม มีขั้วที่ฐาน
ตะไคร้ ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า เลมมอนกลาสออย (lemon grass oil) 0.2-0.4 % ประกอบด้วยซิตรัล (citral) 80% เมอร์ซีน (myrcene)มีฤทธิ์ต้านและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดลด ไข้จากแผลอักเสบ ต้านการแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด   นอกจากนั้น ยังมีสาระสำคัญอีกหลายชนิด เช่นเมนทอล (menthol) การบูร (camphor) เทนพีนีล (tenpeneal) เจรานิออล (geranellal)เนรัล (neral) ฟาร์นีซาล (farnesal) และซิโตรเนลลอล (citronellal) เป็นต้น
มาถึงเรื่องตะไคร้หอมกับความงามกันแล้วนะครับ หลายๆท่านอาจจะยังสงสัยว่า ตะไคร้หอมนอกจากไล่ยุงแล้ว มันจะเกี่ยวกับความงามได้อย่างไร จริงๆแล้วตะไคร้หอมช่วยแก้ปัญหาเรื่องผมแห้งแตกปลายได้ดีทีเดียวครับ ดังนั้นวันนี้ผมจึงได้นำวิธีทำครีมนวดผมตะไคร้สูตรโบราณแก้ผมแห้งแตกปลายมาฝากกันครับ สาวๆที่ไว้ผมยาวแล้วมีปัญหานี้ฟังให้ดีนะครับ
วิธีทำง่ายมากครับ โดยตัด ตะไคร้มาสัก 3-4 ต้น ถ้าเป็นตะไคร้สดจากต้นเลยจะดีมาก   นำมาล้างให้สะอาดตัดเป็นท่อนเล็ก ๆก่อนจะเอาไปปั่นกับเครื่องปั่น ใส่น้ำสะอาดลงไปและกรองเอาน้ำตะไคร้ออกมา ไม่ต้องใส่น้ำมากนัก เอาแค่แทนเป็นครีมนวด นวดทั่วศรีษะได้ วิธีใช้ หลังจากสระผมตาม ปกติแล้วให้เอาน้ำตะไคร้ที่ได้มานวดทิ้งไว้สัก 10 นาทีแล้ว จึงล้างออก ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ผมของท่านจะเงางาม ไม่แห้งแตกปลาย อีกด้วยนะครับ
                ถ้าพูดถึงเรื่องตะไคร้หอมก็ต้องพูดถึงเรื่องน้ำมันหอมระเหยในตะไคร้หอมด้วยนะครับ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้มีคุณสมบัติช่วยผิวและผมของเราได้อีกด้วย เรามาดูกันเป็นข้อๆเลยดีกว่านะครับ
                1.ใช้แช่มือ (Hand Bath) โดยใช้น้ำมันหอมระเหย 5-8 หยด (0.2-0.4 ซีซี) หยดลงในอ่างน้ำอุ่นประมาณ250ซีซี แล้วแช่มือ สัก5-10 นาที ช่วยให้รู้สึก ผ่อนคลายและรักษารอยแตก หยาบกร้านของผิวหนังบริเวณมือ ทำให้มือนุ่มนวลน่าสัมผัสนะครับ
2.ใช้แช่เท้า foot bath โดยใช้น้ำมันหอมระเหย 10- 15 หยด(0.5-0.8 ซีซี) หยดลงในอ่างน้ำร้อนปริมาตร 500 ซีซี แล้วแช่เท้านาน 10 นาที เพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า หยาบกร้านของผิวหนังบริเวณเท้าได้ในระดับหนึ่งนะครับ
3. ใช้ผสมกับโลชั่นบำรุงผิว (Skin and Hair Care) ผสมน้ำมันหอมระเหยเล็ก น้อย ประมาณ 4-5 หยด กับโลชั่นบำรุงผิว หรือ ครีมนวดผม (คิดเป็นปริมาตร 1%-3%ของโลชั่นหรือครีมที่ใช้) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงดูแลผิวหนังและเส้นผมได้
                จะเห็นได้ว่าตะไคร้หอมมีดีมากกว่าใช้ไล่ยุงนะครับ ไม่ว่าจะใช้สดๆในการดูแลผม หรือใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ดูแลผิว และผม แบบสปา หรือผสมในโลชั่นก็สามารถทำได้นะครับ จะเห็นได้ว่าตะไคร้หอมนี้เป็นสมุนไพรชั้นเยี่ยมที่มีคุณสมบัติปรนบัติผิว และผมได้เป็นอย่างดี อย่าลืมนำเคล็ดไม่ลับที่ผมบอกไปลองใช้กันดูนะครับ จะได้ผิวใส ผมสวยกันทั่วหน้าเลยทีเดียว  

อ้างอิง
http://natres.psu.ac.th
http://beautyeasy.blogspot.com
http://www.n3k.in.th
http://www.chemipan.com/th/shop/index.php?option=com_content&view=article&id=69
http://variety.teenee.com/foodforbrain/3483.html
http://www.tistr.or.th/essentialoils/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น